ถาม |
โรงเรียนไหนออกข้อสอบยากสุด |
ตอบ |
คำถามนี้ตอบยากแล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ โรงเรียนที่มีชื่อเสียงและมีอัตราการแข่งสูงจะออกข้อสอบยาก เช่น เตรียมน้อมฯ , บดินทร , เตรียมพัฒนาการ , สวนกุหลาบ , สามเสน , โยธินบูรณะ ฯลฯ
ข้อสอบแต่ละโรงเรียนคล้ายกัน เพราะใช้หลักสูตรแกนกลางเหมือนกันหมด แต่มีแตกต่างกันไม่ค่อยเยอะมาก ส่วนระดับความยากก็ขึ้นอยู่กับว่่าโรงเรียนนั้นต้องการเมล็ดพันธุ์แบบไหน และมีแนวโน้มจะออกยากขึ้นทุกปี เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ดังนั้น ไม่ว่าข้อสอบอะไรมา ถ้าเราเตรียมความพร้อมล่วงหน้า จนมีทักษะแน่น เข้าใจและแก้ปัญหาได้จริง จะเลือกสนามไหนส่วนใหญ่ก็จะสอบติดเสมอ |
|
update : May 2560 |
|
|
ถาม |
นักเรียนที่เรียนที่นี่สอบเข้าได้เยอะไหม |
ตอบ |
ขอแยกตอบเป็น 2 ประเด็น คือ
1. ถ้าดูจากจำนวนนักเรียนที่สอบได้ก็คงจะไม่เยอะ เพราะเราเป็นบ้านหลังเล็กๆ รับนักเรียนได้ไม่เกิน 24 - 30 คนต่อรุ่นเท่านั้น จะเทียบกับที่อื่นที่เขาเรียนกัน 300 - 400 คน ก็คงเปรียบเทียบกันยาก
2. สอบได้ในอัตราที่สูง (มากกว่า 80-90% ทุกปี) ดูรายละเอียดหัวข้อ ผลงานนักเรียน โดยพิจารณาจากจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีกี่คน และสอบได้ทั้งหมดกี่คน ชี้ให้เห็นว่าลูกของท่านมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
หากท่านไม่แน่ใจก็ลองหาข้อมูลหลายๆ แห่ง แล้วลองสอบถามข้อมูล เปรียบเทียบกัน พร้อมกับ ดูเหตผลประกอบแล้วค่อยตัดสินใจ ซึ่งน่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อลูกของท่านมากที่สุด |
|
update : May 2560 |
|
|
|
|
ถาม |
มีคอร์สเร่งลัด สำหรับสอบเข้า ม.1 ไหม |
ตอบ |
มีค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นคอร์สที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ ก่อนสอบจริงประมาณ 2 สัปดาห์ มี 2 คอร์สแนะนำ ได้แก่
1. |
ตะลุยโจทย์เข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ ( สำหรับผู้ที่ต้องการเข้า สายวิทย์-คณิต หรือ English Program )
ข้อสอบจะยากและมีความซับซ้อนกว่าห้องปกติ และโรงเรียนดังจะมีอัตราการแข่งขันค่อนข้างสูง กรณีนักเรียนสอบไม่ได้ สามารถลงสอบได้อีกครั้งในการสอบเข้า ม.1 ห้องเรียนทั่วไป |
2. |
โค้งสุดท้ายเข้า ม.1 ห้องเรียนทั่วไป |
อย่างไรก็ตาม การเลือกติวเพียงระยะเวลาสั้นๆ สำหับผู้ที่่พื้นฐานไม่ดีส่วนใหญ่ก็จะติดปัญหา ไม่สามารถทำโจทย์ในระดับแข่งขันได้ เนื่องจากนักเรียนขาดทักษะและประสบการณ์ในการทำโจทย์
update : 14 sep 2559 |
|
|
ถาม |
สอบเข้า ม.1 ใช้หลักฐานอะไรบ้าง |
ตอบ |
หลักฐานเบื้องต้นของนักเรียนที่ต้องนำไปในวันสมัคร
1. ใบสมัคร
2. ทะเบียนบ้านฉบับจริงของผู้สมัคร พร้อมสำเนา 1 ชุด (รับรองสำเนาถูกต้อง)
3. ปพ. 1 หรือใบรับรองว่ากำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่6 ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
4 รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 3 รูป
5. เอกสารรับรองความสามารถพิเศษ กรณีสมัครความสามารถพิเศษ
6. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การเปลี่ยน ชื่อ สกุล สูติบัตร เป็นต้น
ข้อควรทราบ เมื่อทราบกำหนดการรับสมัครเข้าเรียนในแต่ละปีแล้ว ผู้ปกครองก็ควรเริ่มวางแผนและเตรียมหลักฐานให้ครบตามที่กำหนด โดยผู้ปกครองสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากโรงเรียนที่เราสนใจได้โดยตรง |
|
|
ถาม |
สอบเข้า ม.1 ใช้คะแนนโอเน็ตหรือไม่ |
ตอบอบ |
ไม่ได้ ปัจจุบัน คะแนนโอเน็ตจะไม่สามารถนำไปรวมคะแนนสอบเข้า ม.1 ได้ ( ไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น )
|
|
|
ถาม |
สอบเข้า ม.1 ห้องเรียนพิเศษ สอบวิชาอะไรบ้าง |
ตอบอบ |
ขอแยกออกเป็น 2 ประเภท ( ตามประเภทห้องเรียน) |
๑. ประเภทห้องเรียนพิเศษ |
ผู้ปกครองที่ต้องการส่งบุตรหลานเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม.1 ประเภทห้องเรียนพิเศษนั้นสามารถจำแนกได้ 2 กลุ่มคือ
1.1 กลุ่มห้องเรียนพิเศษ EP (English Program)
สอบทั้งหมด 3 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (บางแห่งสอบ 2 หรือ 5 วิชา )
1.2 กลุ่มห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ( Gifted )
สอบทั้งหมด 2 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์
สำหรับเงื่อนไขการสมัครและคุณสมบัติของแต่ละโรงเรียนนั้นอาจมีความแตกต่างกัน โดยผู้ปกครองสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากโรงเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาต่อได้โดยตรง ส่วนจะตัดสินใจเลือกสอบแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้และความถนัดความพร้อมของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งผู้ปกครองจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าให้แก่บุตรหลานของท่าน เพื่อให้นักเรียนมีคุณสมบัติตรงเงื่อนไขที่กำหนด เช่น
- ผลการเรียนเฉลี่ยรวม ป.4 , ป.5 3.50 ขึ้นไป
- ผลการเรียนเฉลี่ยรวม ป.4 , ป.5 เฉพาะคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 4.00
(กรุณาตรวจสอบคุณสมบัติจากโรงเรียนโดยตรง เนื่องจากแต่ละโรงเรียนกำหนดไว้แตกต่างกัน ) |
๒. ประเภทห้องเรียนทั่วไป (ห้องปกติ หรือ สามัญ) |
สอบทั้งหมด 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ (เริ่มปี 2556 เป็นต้นไป) เนื้อหาที่ออกสอบครอบคลุมชั้น ป.4-6 ซึ่งเป็นการสอบคัดเลือกเข้าเรียนทั่วไป ในกรณีที่นักเรียนสอบไม่ติดในประเภทห้องเรียนพิเศษก็สามารถสอบคัดเลือกประเภทห้องเรียนทั่วไปได้อีกครั้งหนึ่ง โดยจะทำการสอบคัดเลือกพร้อมกันทั่วประเทศช่วงประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี
การรับนักเรียนประเภททั่วไป (สามัญ) นั้นจะรับนักเรียน 4 ตามกลุ่มดังนี้ได้แก่
|
2.1 นักเรียนในเขตพื้นที่บริการ (ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตพื้นที่บริการไม่น้อยกว่า 2 ปี) |
|
2.2 นักเรียนทั่วไป (ในเขตพื้นที่บริการและนอกเขตพื้นที่บริการ) |
|
2.3 นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ |
|
2.4 นักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ |
|
รายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติม ศึกษาได้จากโรงเรียนที่ท่านสนใจโดยตรง |
(ปรับปรุง : ธันวาคม 2559)
|
|
|
|
ถาม |
มีบริการสอนตามบ้านหรือเปล่า |
ตอบบ |
ไม่มีค่ะ
เปิดสอนเฉพาะที่สถาบันเท่านั้น ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ หรือสามารถจัดกลุ่มย่อย 5 - 8 คนมาเรียนก็ได้ค่ะ (ติดต่อโดยตรง) |
|
|
ถาม |
ระบบรับสมัครนักเรียน เข้าศึกษาต่อระดับชั้น ม.1 และ ม.4 |
ตอบบ |
ในปัจจุบัน สพท.กทม. ได้นำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยจัดการระบบรับสมัครนักเรียน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวก และรวดเร็วเป็นอย่างมาก สถาบันฯ ได้จัดทำระบบจำลองระบบรับสมัครนักเรียนขึ้น เพื่อให้ี่ผู้ปกครองได้ทำการศึกษาขั้นตอนต่างๆ ให้เข้าใจยิ่งขึ้น และยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการสมัครสอบคัดเลือกในปี 2553 ด้วย (ข้อมูลอิงจาก สพท.กทม.2 ปี 2552) |
|
|
|
หมายเหตุ ปัจจุบันแต่ละโรงเรียนได้พัฒนาระบบต่างๆ เป็นของตัวเองแล้ว กรูณาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง |
|
|
ถาม |
ลูกกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.6 ช่วยแนะนำคอร์สเพื่อสอบเข้า ม.1 ด้วย |
ตอบบ |
สำหรับคอร์สที่สถาบันเปิดสอนจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ |
|
1. คอร์สปกติ (เป็นคอร์สปกติเช่นเดียวกับโรงเรียนกวดวิชาทั่วไป) ได้แก่
1.1 คอร์สเทอม 1 (เนื้อหาเทอม I)
1.2 ปิดเทอมตุลาคม ( ทบทวนเนื้อหาเทอม I ,เรียนล่วงหน้าเทอม II และเพิ่มเติมเนื้อหาที่จำเป็นต้องใช้สอบแข่งขัน)
1.3 คอร์สเทอม 2 (เนื้อหาเทอม II)
1.4 คอร์สตะลุยโจทย์ เป็นคอร์สที่เปิดสอนในระยะสั้นๆ ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก่อนสอบคัดเลือกจริง (สรุปเนื้อหา และฝึกทำแบบทดสอบ)
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในแต่ละคอร์สนั้นถูกแบ่งเนื้อหาออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางของโรงเรียนทั้งหมด ยกเว้น คอร์สปิดเทอมช่วงตุลาคม ซึ่งจะมีเนื้อหาเพิ่มเติมหลายเรื่องที่นักเรียนควรรู้และจำเป็นต้องใช้ในการสอบแข่งขันคัดเลือกด้วย
2. คอร์สโครงการพิเศษ (รับรองผล)
ในปัจจุบันผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนกวดวิชาเกือบร้อยละ 90 เพื่อเตรียมสอบแข่งขันเข้า ม.1 ในโรงเรียนยอดฮิตประเภทห้องเรียนพิเศษที่มีอัตราการแข่งขันกันสูงมาก โอกาสที่นักเรียนจะสอบไม่ได้ก็ย่อมสูงตามไปด้วยเช่นกันแม้ว่านักเรียนจะเรียนกวดวิชาอยู่แล้วก็ตาม
สถาบันฯ จึงให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ และได้ทำการจัดทำคอร์สพิเศษขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการแข่งขันในปัจจุบันและตอบสนองความต้องการของนักเรียนด้วย เริ่มตั้งแต่การวางพื้นฐาน การพัฒนาทักษะ การฝึกฝนทำโจทย์ที่หลากหลายจนทำให้นักเรียนเกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ในการทำแนวข้อสอบแข่งขัน มีความพร้อมมากที่สุดก่อนลงสู่สนามสอบจริง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนมากกว่าปกติทั่วไป ทำให้ผู้ปกครองมั่นใจมากยิ่งกว่าเนื่องจากสถาบันให้การรับรองผลให้แก่นักเรียนกลุ่มนี้ด้วย ( Guarantee your Success )
จะเห็นว่าคอร์สที่สถาบันเปิดสอนนั้นครอบคลุมที่จะใช้สอบทั้งหมด โดยนักเรียนควรจะเข้าเรียนต่อเนื่องให้ครบทุกคอร์ส ในกรณีที่เรียนพิเศษอยู่ที่อื่นแล้วแต่ยังไม่มั่นใจก็สามารถเลือกคอร์สต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้นได้ตามความเหมาะสม |
|
|
ถาม |
นโยบายการ PRE-TEST เป็นอย่างไรบ้าง |
ตอบ |
ทางสถาบันฯ ได้จัดการทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของสถาบัน โดยจะทำการจัดทดสอบให้เฉพาะนักเรียนที่สมัครเรียนและขึ้นทะเบียนของสถาบันเท่านั้น เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน หลังจากทราบผลการทดสอบแล้วจะทำให้ครูผู้สอนทราบว่านักเรียนคนนั้นมีพื้นฐานอยู่ในระดับไหน โดยข้อสอบที่ใช้ทดสอบนั้นจะครอบคลุมหลายด้าน เช่น กระบวนการคิด ปฏิภาณไหวพริบ พื้นฐานการคำนวณ การตีความหมาย เป็นต้น อันจะทำให้สถาบันรู้ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาทักษะของนักเรียนในขั้นตอนต่อไป ส่งผลให้นักเรียนได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดในการเรียนพิเศษและประสบความสำเร็จทางการเรียนได้ตามความมุ่งหวัง |
|
|
|
%% ยังมีคำถามที่น่าสนใจอีกหลายข้อ อันไหนที่เป็นประโยชน์จะรีบนำมาเสนอต่อไปค่ะ %% |
|
|
|
|
|
|